วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การเขียนรายงานผลการดำเนินการ


การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการทรัพยากร


        ตอบ การรายงานมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรทั้งใน แสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรังปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อๆไป

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประเภท และการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

1. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของ
    ทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร
    ตอบ. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์ มีชื่อเรียกว่า กฤตภาค

2. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวิดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไร
    ในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว
    ตอบ. - กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดเลือกทรัพยากรการเรียนรู้ให้ชัดเจน
             - ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้นๆ
             - เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ เสนอเนื้อหาเป็นขั้นเป็นตอน
             - เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์

3. การจัดซื้อทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง
    ตอบ. มี 4 ประเภทได้แก้
              1. สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ
              2. สั่งซื้อผ่านร้าน / ตัวแทนจำหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ
              3. เว็ปไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ
              4. จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หน่วยงานที่ 8 การประสานงาน

แบบฝึกหัด หน่วยงานที่ 8 การประสานงาน


1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
    ตอบ. 1. การจัดวางหน่วยงานที่งานและเหมาะสม
              2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน
              3. การมีวิธีติดต่องายภายในองค์การที่ทำไว้ดี
              4. มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
              5. การประสานงานโดยวิธีควบคุม

2. เทคนิคการประสานงาน มีอะไรบ้าง
    ตอบ. เทคนิคการประสานงานนั้นมี เทคนิค คือ
    1. จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอก
        หน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    2. การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
    3. การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
    4. การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงาน
        โดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์กร
    5. การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
    6. การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
    7. การติดตามผล

3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
    ตอบ. 1. การขาดความเข้าใจระหว่างผู้ปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุทำให้
                 การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี มีปัญหา
              2. การขาดผู้บังคับบัญชาที่มีความสามารถ
              3. การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะทราบถึงวัตถุประสงค์
                  และวิธีการในการทำงาน
              4. การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
              5. การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี ทำให้งานนั้นขาดตกบกพร่อง
              6. การขาดการนิเทศงานที่ดี
              7. ความแตกต่างกันในสถาพและสิ่งแวดล้อม
              8. การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
              9. ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิด
                  ความร่วมมือ
              10. การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทำให้
                  ผู้ปฏิบัติงานเกิดความลังเลใจ
              11. ระยะทางไกลไม่สามารถติดต่อได้
              12. เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน

แบบฝึกหัดท้ายบท หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การบริหารบุคคล ประจำศูนย์การเรียนรู็


1.อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
    ตอบ.   1. การเลือก  จัดหา  การลงทะเบียน  ทำบัตรรายการ  การบริการการใช้  ตลอดจนเก็บบำรุงรักษา
                     วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ
2. การผลิตสื่อการสอน  เช่น  ผลิตวัสดุกราฟิก  การบันทึกเสียง  ทำรายการวิทยุและโทรทัศน์
3. จัดกิจกรรมทางวิชาการ  เช่น  การฝึกอบรมครูประจำการ  การวิจัย  การจัดนิทรรศการ  
     ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
4. การบริหาร  เช่น  การจัดบุคลากร  การนิเทศ  การบันทึกรายการ  การติดต่อประสานงานและ
     การทำงบประมาณ เป็นต้น
5. การประเมินกิจกรรมต่างๆ

2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง
    ตอบ.   1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงาน
                     หรือสิ่งที่ต้องทำการจัดดาเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน 
                     การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
                2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นาโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย
                3. ด้านการผลิตสื่อ ทำหน้าที่ในการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอน
                4. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาและ
                     เผยแพร่ผลงาน
                5. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิด
                    ชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสม
                    กับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา
                6. ด้านกิจกรรมอื่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือ
                     จัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทสำคัญได้กี่ประเภท
    ตอบ.  6 ประเภท
                    1. ประเภทการจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สำหรับบริการ
                    2. ประเภทการผลิตสื่อเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
                    3. ประเภทการจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทำทะเบียน
                    4. ประเภทการบริการให้ยืมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์
                    5. ประเภทการให้คำปรึกษา แนะนำการใช้และการผลิตสื่อ
                    6. ประเภทการวิจัยและพัฒนาสื่อ

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ อย่างไร อธิบาย
     ตอบ.  ขั้นตอนที่ 1 : สำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมา
                                         ประกอบการจัดหา ซึ่งการสำรวจมี 2 อย่างคือ การสำรวจสื่อวัสดุ ได้แก่ ชนิดของวัสดุ 
                                         ชื่อเรื่อง แหล่งที่เก็บ แหล่งที่ได้มา สภาพการใช้งานปัจจุบัน การสำรวจเครื่องมือ 
                                         ได้แก่ ชนิดของเครื่องมือ แบบ/รุ่น แหล่งที่เก็บ แหล่งที่ได้มา จำนวน สภาพการใช้
                                         งานปัจจุบัน
                 ขั้นตอนที่ 2 : การสำรวจสถานที่ สำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทำกิจกรรม 
                                          เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอ
                                          แล้วหรือไม่ ต้องการอะไรเพิ่มไหม
                  ขั้นตอนที่ 3 : การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อที่จะได้จัดเนื้อให้ตรงกับความต้องการ
                                          ของผู้ใช้ การสำรวจความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนสามารถทำได้
                                           หลายลักษณะ ได้แก่
                                                   1. การสัมภาษณ์ กลุ่มย่อย/รายบุคคล
                                                   2. การสังเกต โดยดูจากพฤติกรรมการใช้สื่อที่มีมาแต่เดิม
                                                   3. การใช้แบบสอบถาม เป็นการสำรวจที่ละเอียดมากกว่าแบบอื่นๆ

                  ขั้นตอนที่ 4 : เป็นขั้นการจัดหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทำเป็นโครงการสั้นๆ 
                                           หรือโครงการะนะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป

5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ มีหลักเกณฑ์สำคัญอะไรบ้าง
     ตอบ. ข้อควรปฏิบัติสำหรับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในการจัดซื้อ
1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีแหล่งที่จำหน่ายโสตทัศนูปกรณ์แต่ละประเภท
     ไว้สำหรับเป็นข้อมูลในการจัดซื้อ
2. ผู้ทำหน้าที่ในการจัดหาสื่อ ควรไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือจากแหล่งร้านค้า
     (ห้างร้านหรือบริษัท) เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสื่อ
     และจะได้มีโอกาสศึกษาจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้นโดยตรง
               3. ควรสำรวจราคาของสื่อแต่ละประเภทเป็นระยะๆเพื่อประโยชน์ในการจัด
                 ตั้งงบประมาณ
               ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อสื่อการศึกษาสามารถกระทาได้ 5 วิธี  ดังนี้
                               1. วิธีตกลงราคา
                               2. วิธีสอบราคา
                               3. วิธีประกวดราคา
                               4. วิธีพิเศษ
                               5. วิธีกรณีพิเศษ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กิจการเรียนรู้ท้ายหน่วยที่ 4 การจัดแผนผังโครงสร้างศูนย์

ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 
อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา



แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์ : aritc.yru.ac.th


โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด : เป็นโครงสร้างแบบ Line and Staff Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีรูปแบบของคณะกรรมการต่างๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้นๆ


สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


แหล่งอ้างอิงข้อมูล : http://www.lib.ku.ac.th

โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด : เป็นโครงสร้างแบบ Line and Staff Organization เป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างสำหรับหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีรูปแบบของคณะกรรมการต่างๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้นๆ

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การวางแผน


พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต


ประวัติความเป็นมา
          พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต  เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและประวัติ ศาสตร์ชุมชน  โดยเฉพาะตำบลกะทู้ในอดีตมีการทำเหมืองแร่ดีบุกเกือบทั่วพื้นที่  ร่องรอยที่เหลืออยู่ของขุมเหมืองล้วนมีจิตวิญญาณที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่า แห่งภูมิปัญญาของบรรพชน  ที่ควรแก่การอนุรักษ์  เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่คนรุ่นหลังสืบไป จากเหตุดังกล่าวนายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล  อดีตนายกเทศมนตรีเมืองกะทู้  ในสมัยที่ดำรงตำแหน่ง  จึงได้เสนอแผนแม่บทการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่  มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนเป็นรูปธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2549 และแล้วเสร็จในปี 2551

นโยบายของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต


   1. เสริมสร้างพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
   2.
ส่งเสริมวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน
   3. สร้างเศรษฐกิจชุมชน  เสริมรายได้  ให้ประชาชนในท้องถิ่น
   4.
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

วิสัยทัศน์ของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต
         แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม   นำภูมิปัญญาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์


กลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต
            ประชาชนผู้มีความสนใจและต้องการศึกษาเกี่ยวกับเหมืองแร่


แหล่งที่มาของข้อมูล
     พิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่ภูเก็ต ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ 5 ถนนสายกะทู้-นาเกาะ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ติดกับสนามกอล์ฟล๊อกปาล์มกะทู้
     เข้าถึงข้อมูลได้ที่ : http://www.kathucity.go.th/index.php?options=travel_government&mode=detail&id=13


แผนการดำเนินงาน
พัฒนาพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม เป็นแหล่งส่งเสริมสนับสนุนถ่ายทอดการศึกษา สืบค้นการแลกเปลี่ยน  เรียนรู้ภูมิปัญญา มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานในการดำรงชีวิต   สร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน สมดุล  มีเหตุมีผล  และภูมคุ้มกันที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของท้องถิ่น
        นำภูมิปัญญาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์   ด้วยการนำเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม   วิถีชีวิต  ภูมิปัญญา  ประวัติศาสตร์ในอดีตที่เจริญรุ่งเรืองด้านเหมืองแร่ มาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากความคิด สร้างสรรค์  เป็นนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างยั่งยืน






กิจกรรม Home Exam ท้ายหน่วยการเรียนรู้ 2 คน

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ. 1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสือ วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ห้องสมุด ศูนย์โสตทัศนสัสดุ เป็นต้น
                2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ  มีเป้าหมายโดยมุ่งบริการกับผู้เรียนที่มี  จุดมุ่งหมายที่จะให้ ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐาน ทักษะการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำ เป็นในความรู้ด้านอื่นๆ เช่น ศูนย์วิชาชีพ ศูนย์การเรียน เป็นต้น          
                3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นศุนย์รวมที่ให้การศึกษาจาก  ประสบการณ์การทำงานบุคคล สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น


2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
     
ตอบ. แต่ละศูนย์การเรียนรู้นั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งสถานที่ตั้งและกระบวนการในการจัดการศูนย์ทรัพยากร  เป้าหมายและจุดมุ่งหมายในการนำเสนอไปยังกลุ่มเป้าหมายนั่นย่อมมีความแตกต่างกัน 


3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้นๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง     
ตอบ.  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ     
     1. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักหอสมุดมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อเพิ่มคุณภาพทางการศึกษาและงานวิจัยของมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นสำนักหอสมุดยังทำหน้าที่เป็นผู้แทนในระดับชาติเพื่อพัฒนาสารสนเทศด้านการเกษตร ปัจจุบันนี้สำนักหอสมุดทำหน้าที่เป็นศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ  และได้รับการคัดเลือกจากศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ ให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ  ศูนย์สนเทศงานวิจัยการเกษตรทันสมัยและศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์ ในระบบสารนิเทศแห่งชาติ


   
 สถานที่ตั้ง : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตู้ ปณ.1084 (เกษตรศาสตร์) 
                            ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ  10903
        กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
        อ้างอิง : http://www.lib.ku.ac.th


     2. ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาได้รับอนุมัติหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (English Program) จากสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 และจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (English Program) ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553




     สถานที่ตั้ง : ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ อาคารอาคารอนุรักษ์ ชั้น 2 ห้อง N3201 ที่อยู่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20130 โทร.0-3839-3483,0-38-10-2052,0-38-10- 2098 โทรสาร 038-745-811อีเมล์ed_adm_buu@hotmail.com
     กลุ่มเป้าหมาย : นิสิตและบุคลากร มหาวิทยาลัยบูรพา
     อ้างอิง : http://ed-adm.buu.ac.th


     3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา มีหน้าที่ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอน และค้นคว้าวิจัยสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งมุ่งให้นิสิตรู้จักใช้ประโยชน์จากศูนย์ทรัพยากร การเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนั้น ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้าน สถานที่ วัสดุสารนิเทศ วัสดุครุภัณฑ์ และบุคลากร มีงบประมาณเพียงพอ เพื่อให้ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถให้บริการ และเป็นแหล่ง เพิ่มพูนความรู้ด้วยตนเอง แก่คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพในอนาคตรวมทั้งเป็นแหล่งวิทยาการที่สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพ


     สถานที่ตั้ง : ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ( Qs1 ชั้น 3 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 
     กลุ่มเป้าหมาย : นิสิตและบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา
     อ้างอิง : http://www.edu.buu.ac.th



               ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ  


     1. ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ศูนย์ศิลปาชีพนี้มุ่งฝึกอาชีพเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมต่างๆ วิชาที่สอนให้แก่เกษตรกรได้แก่ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช การแกะสลัก การจักสาน การทำตุ๊กตา การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การทำเครื่องเรือน การทอผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า การย้อมสี ช่างเชื่อมและเครื่องเคลือบดินเผา ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วจะส่งไปจำหน่ายที่ร้านจิตรลดาทุกสาขาทั่วประเทศ 



     สถานที่ตั้ง : ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ตำบลช้างใหญ่   อำเภอบางไทร   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป
     อ้างอิง : http://www.ayutthaya.org/attractions/ayutthaya_Bangsai02.html


     2. ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ เป็นแหล่งอนุบาลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถดำเนินการปล่อยเต่าทะเล ที่ได้ทำการอนุบาลให้กลับคืนสู่ท้องทะเล รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาวิจัยข้อมูลในการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลที่ดีต่อไป  และที่นี่ยังเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล ซึ่งจะเป็นผลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลต่อเนื่องกันในด้านต่างๆ ตามมา ขอบเขตความรับผิดชอบ เป็นศูนย์คุ้มครองแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล เป็นแหล่งอนุบาลเต่าทะเลและให้ความรู้ในเรื่องเต่าทะเล การเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 




สถานที่ตั้ง : ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20180 โทร.79057
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป
อ้างอิง : http://www.turtles.navy.mi.th


3.  ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร บางพลัด




     สถานที่ตั้ง : ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครบางพลัด ซอยจรัลสนิทวงศ์ 79  ถนนจรัลสนิทวงศ์ 
                         เขตบางพลัด กรุงเทพฯ
     กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป
                              *เฉพาะวิชาคอมพิวเตอร์ต้องพิมพ์ดีดได้
                              *เฉพาะวิชาช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ต้องมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์
                              *เฉพาะวิชาช่างซ่อมโทรทัศน์ (ต้องมีความรู้พื้นฐานวิชาซ่อมวิทยุ)
     อ้างอิง : http://cdlearnse.stou.ac.th/main/career/bkk_training.htm


              ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย




     1. พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่าง ๆ และเครื่องลายครามของจีน ระเบียงรอบนอกตัวอาคารประกอบด้วยซุ้มแปดซุ้ม รอบพิพิธภัณฑ์เป็นอุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และพันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ มีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่อง รามเกียรติ์ วางเรียงรายล้อมรอบอาคาร



     สถานที่ตั้ง : ถนนสุขุมวิท บริเวณที่ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก ตำบลบางเมืองใหม่ 
                        อำเภอเมืองสมุทรปราการ
     กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนผู้สนใจ
     อ้างอิง : http://www.paknam.com/thai/chang-erawan.html

     2. พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA  พิพิธภัณฑ์แห่งการบันทึกประวัติศาสตร์ทางศิลปะไทย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดจาก “ความหลงใหลในงานศิลปะ” ของ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล แต่เหตุผลหลักที่แท้จริงนั้น คุณบุญชัยเปิด พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย อย่างเป็นทางการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเชิดชูเกียรติของ “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย” หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี 





   สถานที่ตั้ง : พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA 499/50 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว 
                         เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร10900
     กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป
     อ้างอิง : http://travel.mthai.com/blog/39356.html

     3. พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ายในพิพิธภัณฑ์จะเป็นที่แสดงชิ้นงาน หลักฐาน ภาพถ่ายไปจนถึงไม้ดอกไม้ใบ ซึ่งรวบรวมมาจากทุกทวีปในตลอดช่วงชีวิตการทำงาน ในฐานะศิลปินนักจัดดอกไม้ โดยได้เดินทางไปลงมือสัมผัสและคลุกคลีอยู่ใน “วัฒนธรรม” ต่างๆ


     สถานที่ตั้ง :  พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ (The Museum of Floral Culture) 
                          ตั้งอยู่ที่ 315 ซ.องครักษ์ 13 ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 
     กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนผู้สนใจ